สาเหตุที่ทำให้สมองล้าเสี่ยง ” สมองเสื่อม” ก่อนวัย
สาเหตุที่ทำให้สมองล้าเสี่ยง ” สมองเสื่อม” ก่อนวัย ในยุคที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พร้อมทั้งยังมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด และหลายคนต้องใช้ความคิด หรือทักษะการทำงาน ไปพร้อมๆกัน ซึ่งพบเจอได้ในหลายสายงาน เช่น สายการตลาดดิจิตอล สายวางแผน สายวิเคราะห์ สายออกแบบ สายงานเหล่านี้ จะต้องใช้ความคิด และทักษะเยอะมากกว่าสายงานอื่นๆ
เนื่องจากต้องมีความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า หากไม่สามารถปรับตัวกับงานได้ จะทำให้ประสิทธิภาพและคุณภาพในงานลดลง เกิดปัญหาสุขภาพเช่น ภาวะสมองล้า (Brian Fog) อีกทั้งยังมีผลต่อระดับไอคิวที่ลดลงด้วย
สาเหตุที่ทำให้สมองล้าเสี่ยง ” สมองเสื่อม” ก่อนวัย
ก่อนออื่นเรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆกันค่ะว่า อาการสมองล้าที่เราได้กล่าวถึงนี้คืออะไร
สมองล้า อาการเป็นอย่างไร
ภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งเกิดจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน จนคุกคามชีวิต ส่งผลต่อสภาพจิตใจ และมีผลต่อการลาออกของพนักงาน แต่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า Brain Fog หรือภาวะสมองล้า ซึ่งเกิดจากสมองทำงานหนักมากเนื่องจาก
- พักผ่อนน้อย จนมีอาการอ่อนล้า
- ขาดการดูแลด้านโภชนาการที่ดี
- มีการสะสมของสารพิษโลหะหนัก สารพิษจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหาร
- ความเครียดสะสม
- อนุมูลอิสระในร่างกาย
- การอักเสบซ่อนเร้น
- ขาดการออกกำลังกาย
- ความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ
- ขาดน้ำหรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ
- มีอาการทางจิตประสาทหรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ร่วมด้วย
สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานของร่างกายถดถอย ต่อมหมวกไตจึงทำงานหนักขึ้น สารสื่อประสาทในสมองเริ่มแปรปรวน การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองเริ่มลดลง จึงมักจะรู้สึกหัวตื้อ มึนงง ปวดหัว คิดช้า จำเรื่องราวหรือสิ่งที่เพิ่งจะทำลงไปไม่ได้ เหนื่อยล้าทางจิตใจง่าย อารมณ์แปรปรวน หากปล่อยไว้อาจมีโอกาสเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยได้

ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงภาวะสมองล้า
- จัดลำดับงานที่สำคัญจากมากไปน้อย
- หยุดเล่นโทรศัพท์สักพักหรือหยุดเสพติดข่าวหรือสื่อที่ทำให้เครียดในช่วงที่กำลังเครียดจากงาน
- มองโลกในแง่บวก และหาเวลาทำกิจกรรมโปรด เพื่อปรับอารมณ์และผ่อนคลาย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารเช้า
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบุหรี่ ในช่วงที่มีความเครียด เพราะยิ่งทำให้สมองล้า
- ฝึกสมาธิ
อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงสมอง
- น้ำมันปลา (Fish Oil) ซึ่งประกอบด้วย ดีเอชเอ (DHA) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 ช่วยเสริมความแข็งแรงของสมอง ระบบเส้นประสาท และระบบการมองเห็นของจอประสาทตา (Retina)
- สารสกัดจากแปะก๊วย (Ginkgo Biloba Extract) ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือดให้ไปเลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น ป้องกันภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน นอกจากนั้นยังมีสารจำพวกกลุ่มฟลาโวนอยด์ช่วยป้องกันความเสื่อมของสมองและหลอดเลือด
- สารสกัดจมูกข้าว (Gamma Oryzanol) ซึ่งมีสาร GABA ช่วยปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมองที่ได้รับการกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาให้เกิดการผ่อนคลาย
- กรดอะมิโนแอลธีอะนีน (L – Theanine) ช่วยเพิ่มสารซีโรโทนิน (Serotonin) โดพามีน (Dopamine) และกาบา (GABA) ทำให้เกิดความผ่อนคลาย (Relaxation) และลดความเครียดได้
- ฟอสฟาติดิลซีรีน (Phosphatidylserine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง จึงช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง ลดความเครียด ลดความอ่อนล้าของสมอง
- โคลีน (Choline Bitartrate) และอิโนซิทอล (Inositol) ทั้ง 2 ชนิดเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท อีกทั้งยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างอะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ใช้ในการจดจำ ช่วยป้องกันภาวะความจำเสื่อมได้
- วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและระบบประสาท กระตุ้นระบบการย่อยอาหาร เผาผลาญและดูดซึมอาหาร ทำให้สมองได้รับพลังงานจากสารอาหารอย่างเต็มที่
การตรวจวินิฉัย ภาวะสมองล้า
ปัจจุบันมีการตรวจสุขภาพในกลุ่มที่เริ่มมีภาวะสมองล้า เพื่อป้องกันความเสื่อมของสมองก่อนที่จะเกิดโรค ซึ่งจะมีการตรวจดังนี้
1.ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4) เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์ช่วยทำให้สมองทำงานได้ปกติ กระฉับกระเฉง และกระตุ้นระดับการเผาผลาญในร่างกาย
2.ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA: Dehydroepiandrosterone) หรือฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ และชะลอความเสื่อมของร่างกาย ผู้ที่มีความเครียดสะสมนานๆ ระดับฮอร์โมนตัวนี้จะลดลง
3.ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด หากมีมากจนเกินไปจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
4.การตรวจหากรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic) เป็นการตรวจการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยมีรายการตรวจดังนี้
- ระบบการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต, กรดไขมัน, วิตามินบี, โปรตีน
- สมดุลสารสื่อประสาทในสมอง
- สมดุลแบคทีเรียในลำไส้
- การสัมผัสสารพิษในร่างกายและการดีท็อกซ์
5.การตรวจสารพิษโลหะหนักสะสมในปัสสาวะ (Toxic Heavy Metal) เพราะอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้า จนมีอาการสับสน และสูญเสียความจำ เกิดจากสารพิษโลหะหนักที่สะสมอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น สมอง ดังนั้นการหาสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย จึงต้องอาศัยการตรวจจากปัสสาวะ
การที่เราทำงานหนักเกินไป ทุ่มเทกับงานมากเกินไป อาจจะทำให้สมองของเราเกิดอาการเหนื่อยล้า เนื่องจากทำงานหนักจนเกินไป สิ่งเหล่านี้เราจะพบเจอได้บ่อย กับผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อม เนื่องจากสาเหตุเหล่านี้นั่นเองค่ะ
ชนิดของ วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราต่างต้อง หาวิธีมาป้องกันตัวเองและคนรอบข้าง และสิ่งสำคัญคือเราจะต้องไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 แต่การที่เราจะไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19ได้นั้น เราอาจจะต้อง ทำความรู้จักกับชนิดของวัคซีนกันก่อนเพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง
วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในไทย เนื่องจากทุกวันนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ในประเทศไทยมีอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มากขึ้น ทำให้เราต่างต้อง เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส